วิสัยทัศน์และพันธกิจ

ยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลเฉนียง

วิสัยทัศน์ 

  “มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการพัฒนาอย่างดีที่สุด  และจะดำเนินการเพื่อเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีการพัฒนาสูงที่สุดในจังหวัดสุรินทร์”

ยุทธศาสตร์

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
  2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต
  3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
  4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  5. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

เป้าประสงค์

ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

         – เพื่อพัฒนาด้านระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ มีอย่างเพียงพอ และได้มาตรฐาน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต

         – เพื่อพัฒนาและส่งเสริมด้านการศึกษา  ศาสนา วัฒนธรรม  ด้านสุขภาพอนามัย ส่งเสริมด้านสวัสดิการของชุมชน  พัฒนาด้านกีฬาและส่งเสริมมาตรการป้องกัน เฝ้าระวังยาเสพติดเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง

     3.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

         – เพื่อส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร พัฒนากลุ่มอาชีพเพื่อยกระดับรายได้ ส่งเสริมการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีระบบ และส่งเสริมการท่องเที่ยว

     4.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          – เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

          – การบริหารงานที่ดี มีประสิทธิภาพ เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน

ตัวชี้วัด

  1. จำนวนรายได้ต่อหัวประชากรเพิ่มขึ้น
  2. จำนวนกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินการกลุ่ม
  3. จำนวนครัวเรือนที่ทำเกษตรกรรมด้านเกษตรอินทรีย์ หรือตามแนวพระราชดำริของในหลวง
  4. จำนวนผู้ที่ให้ความสนใจสถานที่ท่องเที่ยว งานประเพณี ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นตำบลเฉนียง
  5. ปริมาณของถนนประเภทต่างๆที่ได้มาตรฐานและมีระยะทางเพิ่มขึ้น
  6. จำนวนครัวเรือนที่ได้รับบริการสาธารณูปการต่างๆ
  7. ระดับการศึกษาของประชากรมีอัตราเฉลี่ยสูงขึ้น
  8. จำนวนประชากรที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและสุขภาพจิตดี
  9. จำนวนเหตุสาธารณภัยลดลง และประชากรที่ประสบภัยพิบัติได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
  10. จำนวนเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสที่ได้รับการดูแล
  11. จำนวนประชากรที่มีส่วนร่วมพัฒนา อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน
  12. จำนวนประชากรที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพและดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  13. จำนวนประชากรที่มีส่วนร่วมกับการปกครองท้องถิ่น
  14. จำนวนประชากรที่มีความรู้ในระเบียบ กฎหมายเบื้องต้น
  15. จำนวนบุคลากรที่ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  16. องค์กรปฏิบัติงานได้ตามหลักธรรมาภิบาล
  17. จำนวนเครื่องมือ เครื่องใช้ที่เพียงพอต่อการให้บริการประชาชนและส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
  18. สถิติการจัดเก็บรายได้ขององค์กรเพิ่มขึ้นทุกปี

ค่าเป้าหมาย

  1. เพื่อส่งเสริมให้ตำบลเฉนียงมีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการอย่างทั่วถึง เท่าเทียมกัน
  2. เพื่อพัฒนาคนให้มีความอยู่ดีกินดี มีความสุข พัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
  3. เพื่อให้ประชาชนตำบลเฉนียงมีสุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพจิตเข้มแข็งถ้วนหน้า
  4. เพื่อให้ประชาชนตำบลเฉนียง  มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เยาวชน ชุมชนปลอดจากยาเสพติด
  5. เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ให้ประชาชน ประชาชนมีช่องทางในการประกอบอาชีพมากขึ้นสนับสนุนช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาชีพอย่างยั่งยืนและถาวร
  6. เพื่อสร้างแหล่งน้ำการเกษตรและแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคตามความต้องการของประชาชน
  7. เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในตำบลให้น่าอยู่และปลอดมลพิษ ส่งเสริมกลุ่มอาชีพและชุมชนให้เป็นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง
  8. เพื่อให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นองค์กรที่บริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล มีการพัฒนาบุคลากรให้ทำงานเป็นทีม สร้างความประทับใจแก่ผู้มาใช้บริการ และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเมือง การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

กลยุทธ์ (Strategies)

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

1.1  กลยุทธ์การก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงถนน  สะพาน ทางเท้าและท่อระบายน้ำ

1.2  กลยุทธ์การขยายเขตไฟฟ้า ไฟฟ้าสาธารณะ

1.3  กลยุทธ์การก่อสร้างและขยายเขตประปา

1.4  กลยุทธ์ก่อสร้าง  ปรับปรุง  ซ่อมแซม  อาคารและศาลา

1.5 กลยุทธ์พัฒนาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค และภาคเกษตร

     2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต

2.1  กลยุทธ์การพัฒนาด้านคุณธรรม  จริยธรรมและวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

2.2  กลยุทธ์การพัฒนาและส่งเสริมการศึกษา

2.3  กลยุทธ์การพัฒนาส่งเสริมสุขภาพและอนามัย

2.4  กลยุทธ์การพัฒนาและส่งเสริมด้านสวัสดิการของชุมชน

2.5  กลยุทธ์การพัฒนาด้านการกีฬาและนันทนาการ

2.6  กลยุทธ์ส่งเสริมมาตรการป้องกัน เฝ้าระวังยาเสพติดและการรักษาสภาพชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน

     3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

3.1  กลยุทธ์ส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอินทรีย์

3.2  กลยุทธ์ส่งเสริมการประกอบอาชีพและพัฒนากลุ่มอาชีพเพื่อยกระดับรายได้

3.3  กลยุทธ์ส่งเสริมการลงทุนและขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีระบบ

3.4  กลยุทธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยว

     4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4.1  กลยุทธ์การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

4.2  กลยุทธ์การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษ

4.3  กลยุทธ์การดูแลรักษาที่สาธารณะ

4.4  กลยุทธ์การบริหารจัดการและรณรงค์การกำจัดขยะมูลฝอย

         4.5  กลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาการใช้พลังงานทดแทน

5. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

5.1  กลยุทธ์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรทุกภาคส่วน

5.2  กลยุทธ์ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กรให้มีขีดความสามารถในการพัฒนา

5.3  กลยุทธ์ส่งเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว อุบัติเหตุ  อุบัติภัย  อาชญากรรมและบรรเทาสาธารณะภัย

5.4  กลยุทธ์จัดหาสถานที่ ปรับปรุง เครื่องมือ เครื่องใช้ในการปฏิบัติงานและให้บริการประชาชน

5.5  กลยุทธ์การพัฒนาและจัดระเบียบของชุมชนและสังคม

5.6  กลยุทธ์การพัฒนารายได้ การจัดเก็บข้อมูลและระบบข้อมูล

5.7  กลยุทธ์การส่งเสริม  การรู้รัก  สมานฉันท์ ปรองดอง  ของประชาชน

จุดยืนทางยุทธศาสตร์

จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ขององค์การบริหารส่วนตำบลเฉนียง

การกำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ขององค์การบริหารส่วนตำบลเฉนียง กำหนดการพัฒนาที่ครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลเฉนียง  ที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนา จำนวน 5 ยุทธศาสตร์ และ 27  กลยุทธ์ ดังนี้

1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

         1.1  กลยุทธ์การก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงถนน  สะพาน ทางเท้าและท่อระบายน้ำ

1.2  กลยุทธ์การขยายเขตไฟฟ้า ไฟฟ้าสาธารณะ

1.3  กลยุทธ์การก่อสร้างและขยายเขตประปา

1.4  กลยุทธ์ก่อสร้าง  ปรับปรุง  ซ่อมแซม  อาคารและศาลา

1.5 กลยุทธ์พัฒนาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค และภาคเกษตร

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต

2.1  กลยุทธ์การพัฒนาด้านคุณธรรม  จริยธรรมและวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

2.2  กลยุทธ์การพัฒนาและส่งเสริมการศึกษา

2.3  กลยุทธ์การพัฒนาส่งเสริมสุขภาพและอนามัย

        2.4  กลยุทธ์การพัฒนาและส่งเสริมด้านสวัสดิการของชุมชน

2.5  กลยุทธ์การพัฒนาด้านการกีฬาและนันทนาการ

2.6  กลยุทธ์ส่งเสริมมาตรการป้องกัน เฝ้าระวังยาเสพติดและการรักษาสภาพชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

3.1  กลยุทธ์ส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอินทรีย์

3.2  กลยุทธ์ส่งเสริมการประกอบอาชีพและพัฒนากลุ่มอาชีพเพื่อยกระดับรายได้

3.3  กลยุทธ์ส่งเสริมการลงทุนและขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีระบบ

3.4  กลยุทธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยว

4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4.1  กลยุทธ์การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

4.2  กลยุทธ์การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษ

4.3  กลยุทธ์การดูแลรักษาที่สาธารณะ

4.4  กลยุทธ์การบริหารจัดการและรณรงค์การกำจัดขยะมูลฝอย

4.5 กลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาการใช้พลังงานทดแทน

5. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

5.1  กลยุทธ์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรทุกภาคส่วน

5.2  กลยุทธ์ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กรให้มีขีดความสามารถในการพัฒนา

5.3  กลยุทธ์ส่งเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัวอุบัติเหตุ  อุบัติภัย  อาชญากรรมและบรรเทาสาธารณะภัย

5.4 กลยุทธ์จัดหาสถานที่ ปรับปรุง เครื่องมือ เครื่องใช้ในการปฏิบัติงานและให้บริการประชาชน

5.5  กลยุทธ์การพัฒนาและจัดระเบียบของชุมชนและสังคม

5.6 กลยุทธ์การพัฒนารายได้ การจัดเก็บข้อมูลและระบบข้อมูล

5.7 กลยุทธ์การส่งเสริม  การรู้รัก  สมานฉันท์ ปรองดอง  ของประชาชน